Heat Stroke
อ.นพ.วนกร รัตนวงษ์
Heat Stroke จัดเป็นภาวะที่รุนแรงทางการแพทย์ภาวะหนึ่ง เป็นผลมาจากปัญหาการขจัดความร้อนของร่างกายนั้นเสียไป ส่งผลให้ระบบต่างๆของร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ภาวะนี้พบมากในฤดูร้อนโดยเฉพาะในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกและมักเกิดกับผู้สูงอายุเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามประชากรกลุ่มอื่นๆก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เช่น ผู้มีโรคประจำตัว ทหารเกณฑ์ที่ต้องฝึกกลางแดด หรือ ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง
อาการที่ชวนสงสัย
โรคนี้มักจะประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้
-
- อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40ºc
- มีภาวะทางระบบประสาทผิดปกติไป เช่น เป็นลม กระวนกระวาย ประสาทหลอน ปวดศีรษะ เดินเซ หมดสติ หรือชัก
- ไม่มีเหงื่อ (โดยในช่วงแรกอาจมีเหงื่อออกมากได้)
การรักษาเบื้องต้น
-
- ย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีอากาศร้อนทันที
- ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด
- ให้ผู้ป่วยนอนยกขาสูง
- ให้ประคบน้ำแข็งหรือผ้าเย็นตามซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้มากที่สุด
- รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
**ห้ามให้ผู้ป่วยที่หมดสติดื่มน้ำเด็ดขาดเพราะอาจทำให้สำลักน้ำได้
การป้องกัน
-
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ร้อนและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก รวมถึงวางแผนการเดินทางหรือออกไปทำกิจกรรมด้านนอกในช่วงที่อากาศเย็น
- ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลและเครื่องดื่มชูกำลัง
- ใส่เสื้อหลวมๆ
- ระวังผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
อ้างอิง
- Alan N. Peiris. Heat Stroke. JAMA 2017; ;318(24):2503. doi:10.1001/jama.2017.18780
- Paul Cleland MD. Conn’s Current Therapy 2019. USA: Elsevier Inc; 2019.