โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

นางสาวจิราวรรณ สุทธิจิต (นักวิชาการสาธารณสุข)

สาเหตุ

เกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคฉี่หนูในปัสสาวะของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในพื้นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง โดยเชื้อโรคดังกล่าวจะอาศัยอยู่ในหนู วัว ม้า หมู สุนัข โดยเข้าร่างกายได้ทางบาดแผลที่ผิวหนังหรือเยื่อเมือกต่างๆ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุจมูก ทำให้เกิดการทำลาย ตับ ไต กล้ามเนื้อ ผิวหนัง และหลอดเลือด ทำให้มีเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ ทั่วไป

อาการ

ระยะแรก (leptospiremic phase) 4 – 7 วันแรกของการดำเนินโรค จะมีอาการ

        1. ไข้สูงแบบทันทีทันใด
        2. ปวดศีรษะ สับสน
        3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง น่องและต้นคอ
        4. คลื้นไส้ อาเจียน
        5. มีอาการตาแดง มักพบใน 3 วันแรกของโรค และเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์
        6. ตาเหลือง ตัวเหลือง
        7. มีอาการคอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
        8. ผื่นแดง ต่อมนาเหลื้องโต ตับ ม้ามโต (อาจพบได้แต่ไม่บ่อย)

ระยะที่สอง (immune phase) ผู้ป่วยจะเริ่มสร้าง anti-leptospira antibodies (โปรตีนที่เฉพาะต่อเชื้อโรคฉี่หนู)โดยพบหลังจากเริ่มมีอาการไข้ประมาณ 1 สัปดาห์โดยจะมีช่วงที่ไข้ลงประมาณ 1 – 2 วันแล้วกลับมีไข้ขึ้นอีกในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการ

        1. ปวดศีรษะ
        2. ไข้ต่ำๆ
        3. คลื่นไส้อาเจียน (อาการมักรนแรงน้อยกวาอาการในช่วงแรก)
        4. อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ
        5. หน้าที่ของตับและไตผิดปกติระยะนี้อาจกินเวลาได้นาน ถึง 30 วัน แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกราย ผู้ป่วยอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีตาเหลืองและกลุ่มที่ไม่มีตาเหลือง

ภาพจาก https://1th.me/4rXU

การรักษา

ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ การรักษาโรคประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติ และจะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้

การป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
2. ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง
3. รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน
4. ผู้ที่ทำงานในสถานที่เสี่ยงต่อโรคให้สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ต เป็นต้น

อ้างอิง

    1. https://www.honestdocs.co/symptom-leptospirosis-disease
    2. https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/contagious-diseases-dangerous-from-the-flood
    3. http://www.boe.moph.go.th/fact/Leptospirosis.htm
    4. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/839_1.pdf