โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue Fever)

นางสาวอลิสา  กาติ๊บ (นักวิชาการสาธารณสุข)

โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus)  โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทกุปี เชื้อไวรัสเดงกี มี  สายพันธ์ุ คือ DENV1-, DENV2-, DENV3- และ DENV4-  มียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค

อาการของโรคไข้เลือดออก

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สงูเกือบตลอดเวลา มักไม่ค่อยตอบสนองต่อยาลดไข้ อาจมีอาการ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาจมีผื่นหรือจดุเลือดออกตามลำตัว แขน ขา

ระยะวิกฤติ ระยะนี้ไข้จะเริมลดลง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออก อาการจะไม่ดีขึ้นยังคง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย มากกว่าเดิม ต่างกับผู้ป่วยทีไม่มีภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาการต่าง ๆ ค่อย ๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยที่อาการรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อก มีความดันโลหิตต่ำ มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบา เร็ว ปัสสาวะออกน้อย ร่วมกับมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อจุจาระมีสีดำ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระยะนี้กินเวลา 24 – 48 ชั่วโมง ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีไข้เกิน 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษา

ระยะฟืนตัว อาการต่าง ๆ จะเริมดีขึ้นผู้ป่วยอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามลำตัว ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสทีมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคไข้เลือดออก การรักษาประคับประคอง ที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายทีอาการไม่รุนแรงอาจหายได้เองภายใน 2 – 7 วัน

การวินิจฉัย

    1. การวินิจฉัยเบื้องต้น โดยการทดสอบทูร์นิเคต์ (tourniquet test) โดยใช้เครื่องวัดความดันรัดเหนือข้อศอกของผู้ป่วยเพื่อทดสอบจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตำแหน่งที่รัดเป็นจำนวน มากกว่า 10 จุด ในวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว
    2. การวินิจฉัยโดยแพทย์ แพทย์จะทำการเจาะเลือด ตรวจดคูวามเข้มข้นของเลือด (ฮีมาโทคริต)และตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด

การรักษา

ถ้าเป็นไม่รุนแรง อาจกินยาลดไข้ พาราเซตามอล และปฏิบัติตัวตามคำาแนะนำ แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจดูทุก 1-2 วัน จนแน่ใจว่าหายดี(อาจกินเวลา 7-10 วัน) เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยทยอยจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน
***ห้ามกินยากลุ่มแอสไพรินหรือยาลดไข้อื่น ๆ  เป็นอันขาด

ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และทำาการตรวจเลือดดูความเข้มข้นของเลือด(ฮีมาโทคริต) เป็นระยะ ๆ

การป้องกัน

    1. การป้องกันที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ที่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ปิดฝาโอ่งน้ำ
      • เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 – 10 วัน
      • จานรองตู้กับข้าว ควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใส่เกลือแกง ในน้ำที่อยู่ในจานรองตู้ ขนาด 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว
      • ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ในบริเวณบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน ทำาลายหรือฝังดินให้หมด
      • •ปรับพื้นบ้านและสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีน้ำขังได้
      • วิธีที่สะดวก คือ ใส่ทรายอะเบต (abate) ชนิดร้อยละ 1 ลงใน ตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ในอัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร (ตุ่มมังกรขนาด 8 ปีบ ใช้ทรายอะเบต 2 ช้อนชา, ตุ่มซีเมนต์ขนาด 12 ปีบ ใช้ทรายอะเบต 2.5 ช้อนชา) ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบต สามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
    2. เด็กที่นอนกลางวันควรกางมุ้งหรือทายากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัด
    3. กำจัดยุงโดยการใช้ยาฆ่ายุง การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เป็นต้น
    4. ปัจจุบันกำาลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งอาจมีใช้ ในอนาคต

อ้างอิง

ศาสตราจารย์คลินิกแพทย์หญิงศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจและคณะ. (2556). แนวทางการวินิจฉัยและรักาโรค       ไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

พีระ สมบัติดีและคณะ. (2558). ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก Dengue Fever (DF), Dengue Hemorrhagic Fever (DHF). พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น:หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์.