อยู่บ้านอย่างไรให้มีความสุข

อยู่บ้านอย่างไรให้มีความสุข

​     ในสถานการณ์เช่นนี้การกักตัวอยู่บ้านอาจจะทำให้ใครหลายคนรู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือวิตกกังวลในหลายๆเรื่องทั้งการเงิน การงาน การเรียน สุขภาพ หลายคนอาจรู้สึกเบื่อหน่าย กระสับกระสาย หรือแม้กระทั่งรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากที่เกิดขึ้นกันได้แทบทุกคน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนี้ก็ไม่ต้องรู้สึกแย่ค่ะ คุณมีเพื่อนอีกมาก!!!
​ถึงแม้การกักตัวอยู่บ้านมันจะยากต่อการรักษาสุขภาพจิตของใครหลายคน แต่ถ้าเราทำได้ก็จะช่วยปกป้องทั้งตัวเราเองและคนรอบข้างในสถานการณ์การระบาดแบบนี้ได้เป็นอย่างมาก
แล้วเราจะอยู่บ้านโดยที่สามารถดูแลจิตใจของเราให้มีความสุขได้อย่างไร ???
นักจิตขอแนะนำเทคนิคการดูแลหัวใจของเราในช่วง COVID 19 ดังนี้ค่ะ
1. Find out: ค้นหาหรือตรวจสอบสิทธิ การสนับสนุนรายได้ชดเชยต่างๆจากภาครัฐ เช่น สิทธิประกันสุขภาพ การประกันสังคมในการชดเชยได้รายในกรณีการว่างงาน สัญญาในการจ้างงาน สิทธิในการรักษาพยาบาล ประกาศต่างๆจากหน่วยงาน ฯลฯ
2. Stay mindful & calm: มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ สิ่งที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่ด่วนตัดสิน โดยการฝึกนั่งสมาธิ ฝึกสังเกตปฏิกิริยาความคิด ความรู้สึก ร่างกายและลมหายใจเข้าออก
3. Stay connected: รักษาการมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่เราไว้ใจ พ่อแม่คุยกับลูก ลูกหลานคุยกับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย และกลุ่มเพื่อนก็ช่วยได้มาก ผ่านวีดีโอคอล มือถือผ่านหรือโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ
4. Stay normal.. Do the same things… Just differently เรายังทำเกือบทุกอย่างได้แค่เปลี่ยนวิธีการ เช่น ออกกำลังกายเล่นโยคะ เปิดคลิปแล้วทำตามที่บ้าน เรียนหนังสือทางออนไลน์ ทำงานผ่านจอผ่านอีเมลผ่านมือถือจากบ้าน สั่งอาหาร ค้าขายหลายอย่างก็ค้าขายได้ เช่น ผ่าน website application ไปรษณีย์delivery หรือช่องทาง delivery อื่นๆอีกมากมาย
5. Support yourself! ค้นหาศักยภาพและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การอ่านหนังสือที่ซื้อไว้แล้วไม่เคยอ่าน ลงคอร์สเรียนออนไลน์ เรียนเรื่องโปรแกรม ปรัชญา จิตวิญญาณ การลงทุน การฝึกภาษาอังกฤษผ่านการดูหนัง เรียนทำขนม ทำกับข้าว จัดสวน เย็บเสื้อผ้า หัดทำหนังสั้นลงยูทูป ฯลฯ ถือโอกาสเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่เงื้อมานานได้สารพัดค่ะ
6. Self-talk & talk about your worry: พูดกับตัวเองทั้งเรื่องความคิดและความความรู้สึกที่เกิดขึ้น พูดกับตัวเองด้วยคำพูดทางบวก เช่น “วันนี้ดีจังเลย ได้ลองเรียนอะไรใหม่ๆด้วย” “เรานี่ก็เก่งเหมือนกันนะเนี่ยเก็บตัวอยู่ในห้องได้หลายวันเลย” “เราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ให้ได้” “เดียวมันก็จะผ่านไป” และนอกจากนี้เรายังสามารถพูดถึงสิ่งที่เราเครียด กังวลหรือเป็นห่วงกับคนที่เรารู้สึกไว้วางใจได้เช่นกัน แต่หากไม่มีจริงๆ ยังมีหน่วยงานด้านสุขภาพจิตนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ที่พร้อมจะช่วยเหลือนะคะ.
7. Stay with fact! ฟังอย่างมีสติรับข้อมูลข่าวสารเพื่อ update สถานการณ์บ้านเมืองอย่างพอดีๆ ปิดทีวีมั่งก็ได้!!!
Cautions!
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังมากๆคือกับดักความคิดและการทำร้ายจิตใจตัวเราเองด้วยค่ะ เช่น
* การตำหนิและต่อว่าตนเองอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ เช่น นอนหลับไม่เป็นเวลา ไม่สามารถตื่นเช้าตามที่ตั้งใจ ไม่สามารถทำในสิ่งที่ตั้งใจจะทำให้บรรลุผลตามกำหนดการ รู้สึกว่าตัวเองไม่ productive ที่ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
* การหงุดหงิดโมโหสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ทำให้ตนเองอย่างไม่สามารถควบคุมหรือวางแผนอะไรล่วงหน้าได้เลย
* การย้ำคิดอยู่กับความกังวล ความเครียดและการตำหนิตัวเองโดยปฏิเสธการช่วยเหลือ และไม่ขอร้องความช่วยเหลือใดๆ
ทุกความรู้สึกมีความหมาย มาดูแลหัวใจของเราไปด้วยกันนะคะ

 

เขียนและเรียบเรียงโดย
พิชชาพร สิทธิโชค นักจิตวิทยา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เอกสารอ้างอิง
Mental wellbeing while staying at home, NHS
คู่มือสื่อสารความรู้ เสริมสร้างพลังใจ อึด ฮึด สู้ เล่ม 1 , กรมสุขภาพจิต